Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พบดาวแปรแสงในบันทึกกระดาษปาปิรุสอายุ 3,200 ปี


พบดาวแปรแสงในบันทึกกระดาษปาปิรุสอายุ 3,200 ปีของชาวอียิปต์
ข้อมูลทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์
ของดาวแปรแสง “อัลกอล” ปรากฏในบันทึกโบราณของชาวไอยคุปต์
ชาวอียิปต์โบราณมักมีอะไรน่าทึ่งให้เราพิศวงงงงวยอยู่เสมอ อย่างเช่นปฏิทินโบราณอายุ 3,200 ปีในสมัยฟาโรห์ Ramesside หรือช่วง 1244 – 1163 ก่อนคริสตศักราช กลับมีข้อมูลทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดาวแปรแสงโผล่อยู่ในนั้น

พิพิธภัณฑ์ไคโรซื้อปฏิทินกระดาษปาปิรุสฉบับนี้มาจากพ่อค้าของเก่าคนหนึ่งในปี 1943  แยกออกได้เป็น 3 เล่ม เล่มหนาสุดคือเล่ม 2 เป็นปฏิทิน 360+5 วัน ที่บ่งบอกวิถีดำเนินชีวิต พยากรณ์โชคลาง รวมทั้งคำเตือนต่างๆ (คนอียิปต์ให้ 12 เดือนมีจำนวนวันเท่ากันหมดคือเดือนละ 30 วันรวม 360 วัน และเพิ่มวันพิเศษ 5 วันเพื่อให้ครบปีตามวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ )

สองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ Lauri Jetsu และ Sebastian Porceddu ได้วิเคราะห์ดูภาษาโบราณในปฏิทินอย่างละเอียด และพบว่ามันมีข้อมูลของดาวแปรแสง “อัลกอล” ปรากฏอยู่ในนั้น

“อัลกอล” เป็นดาวสำคัญดวงหนึ่งในกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส อยู่ห่างจากโลก 93 ปีแสง มีค่าความส่องสว่างปรากฏ 2.12 สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีชื่อทางดาราศาสตร์ว่า β Per ความพิเศษของมันคือ มันเป็น “ดาวแปรแสง” หมายถึงดาวดวงนี้มีความสว่างขึ้นและหรี่ลง เป็นคาบตายตัว

สาเหตุที่ดาวอัลกอลมีแสงที่ประหลาดแบบนั้น เพราะจริงๆแล้วมีดาวมืดอีกดวงหนึ่งที่โคจรอยู่รอบๆ มัน ทำให้เมื่อช่วงเวลาที่เกิดคราสหรือดาวมืดเคลื่อนเข้าบดบังอยู่หน้าดาวอัลกอล แสงของอัลกอลจะหรี่ลงจนมนุษย์โลกจึงไม่สามารถมองเห็นดาวอัลกอลได้ชัดเจน คาบการโคจรของดาวมืดรอบดาวอัลกอลประมาณ 2 วัน 21 ชั่วโมง โดยช่วงเวลาที่เกิดคราสกินเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และช่วงที่เกิดคราสนั้นดาวอัลกอลจะมีค่าความส่องสว่างปรากฏเหลือเพียง 3.40 เท่านั้น

ชาวไอยคุปต์มองเห็นดาวอัลกอลเป็นตัวแทนของ เทพฮอรัส และน่าจะเฝ้าสังเกตมันอยู่ตลอดเวลาจนพบความประหลาดของดาวดวงนี้ จึงได้บันทึกลงในปฏิทินของตน เท่านั้นยังไม่พอ ในปฏิทินโบราณนี้ยังปรากฏหลักฐานการค้นพบคาบโคจรของดวงจันทร์รอบโลกที่ 29.6 วันด้วย นับว่าน่าทึ่งมาก

ทีมวิจัยตีพิมพ์การ้คพบนี้ใน the journal PLoS ONE ฉบับออนไลน์ลงวันที่ 17 ธ.ค.58 ที่ผ่านมา(ดาวอัลกอลถูกบรรจุลงเป็นดาวแปรแสงในดาราศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อปี ค.ศ. 1669 นี้เอง โดย Montanari)

รายการบล็อกของฉัน